Pages

Sunday, September 6, 2020

นักอนุรักษ์ยกนกแร้งเจ้าเวหา ห่วงประชากรในกัมพูชาสูญพันธุ์หลังจำนวนลดลงต่อเนื่อง - ผู้จัดการออนไลน์

angkutandariberita.blogspot.com


ซินหวา - กลุ่มนักอนุรักษ์เผยว่านกแร้งในกัมพูชายังคงมีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากจำนวนประชากรลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีมานี้

“ในเดือน มิ.ย.2563 มีนกแร้งเหลืออยู่เพียง 127 ตัวเท่านั้น ลดลงอย่างมากจากราว 280 ตัวในช่วงการสำรวจประชากรเมื่อปี 2558” ผู้จัดการโครงการ BirdLife International ประจำกัมพูชา กล่าว

การใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตส่งผลกระทบต่อประชากรนกแร้ง และสารเคมีอันตรายเหล่านี้ควรถูกยกเลิกการใช้งานเนื่องจากเป็นอันตรายต่อมนุษย์ด้วย

คำแถลงร่วมที่ออกโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตร BirdLife International Wildlife Conservation Society และองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ อีก 6 องค์กรเนื่องในโอกาสวันอนุรักษ์แร้งสากลประจำปี 2563 ระบุว่า นกแร้งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือหากต้องการให้นกแร้งอยู่รอดในกัมพูชา

คำแถลงยังระบุว่า นกแร้งเป็นเจ้าแห่งเวหา เนื่องจากเครื่องส่งสัญญาณวิทยุติดตามสัตว์ผ่านดาวเทียมที่ติดกับนกแร้งในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเสียมปัง เผยให้เห็นว่านกแร้งบินที่ความสูง 6 กิโลเมตร และเร็วถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ นกแร้งยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดซากสัตว์ที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค พวกมันมีสถานะเป็น ‘ทีมทำความสะอาด’ ของธรรมชาติ

“ชาวเขมรทุกคนสามารถภูมิใจได้ว่ายังมีนกแร้งอยู่ในประเทศ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยเหลือความพยายามในการอนุรักษ์นกแร้งด้วยการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหยุดทำให้สัตว์ได้รับสารพิษ มิฉะนั้นนกแร้งของกัมพูชาจะสูญพันธุ์” ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอังกอร์ (Angkor Centre for Conservation of Biodiversity) กล่าว

กัมพูชาเป็นที่อยู่ของนกแร้ง 3 สายพันธุ์ คือ พญาแร้ง แร้งสีน้ำตาล และแร้งเทาหลังขาว ทั้งหมดจัดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์

นกแร้งเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเสียมปังใน จ.สตึงเตรง และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเชป ใน จ.พระวิหาร เพื่อดูแลรักษานกที่เสี่ยงสูญพันธุ์นี้ กลุ่มนักอนุรักษ์ได้ให้อาหารนกอยู่เป็นระยะ และปกป้องรังและที่อยู่อาศัยของพวกมันเป็นประจำ

“การอนุรักษ์นกแร้งทั้ง 3 สายพันธุ์เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก และสารฆ่าแมลงคาร์บาเมตไม่เพียงเป็นอันตรายต่อความอยู่รอดของนกแร้ง แต่ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และปศุสัตว์ด้วย” ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลกประจำกัมพูชา กล่าว.


Let's block ads! (Why?)



"นก" - Google News
September 06, 2020 at 06:10PM
https://ift.tt/2QWzSXT

นักอนุรักษ์ยกนกแร้งเจ้าเวหา ห่วงประชากรในกัมพูชาสูญพันธุ์หลังจำนวนลดลงต่อเนื่อง - ผู้จัดการออนไลน์
"นก" - Google News
https://ift.tt/3eM4d50
Home To Blog

No comments:

Post a Comment