Pages

Wednesday, September 2, 2020

ฉาย บุนนาค เปรียบสื่อเป็นนกพิราบที่ดีไม่ขี้เรี่ยราด ยืนยัน นโยบายไม่กลัวการนำเสนอข่าว - เอ็มเอสเอ็น

angkutandariberita.blogspot.com

ฉาย บุนนาค ตอกกลับวิจารณ์การนำเสนอข่าวของสื่อด้านเดียว เปรียบสื่อมีอิสระเหมือนนกพิราบ แต่ไม่ขี้เรี่ยราด ต้องรับผิดชอบสังคม ยืนยัน นโยบายไม่กลัวการนำเสนอข่าว

2 กันยายน 2563 งานเสวนาสื่อไทยควรวางตัวอย่างไรในความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ มีตัวแทนจากสำนักข่าวและองค์กรสื่อชั้นนำของประเทศ อาทิ นายฉาย บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด / บริษัท มติชน จำกัด / นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย / นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มองบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน ว่า ต้องรับผิดชอบในการใช้เสรีภาพ ไม่ใช่เพียงกรอบของทางกฎหมาย แต่รวมไปถึงจรรยาบรรณและจริยธรรม ซึ่งในแง่จุดยืนของสื่อมวลชนที่เป็นสากลไม่ว่าจะมีนโยบายสนับสนุนขั้วใด เมื่อนำเสนอข้อมูล จะมีขั้วไม่ได้ ต้องนำเสนอข้อมูลครบถ้วนทั้ง 2 ทาง ซึ่งแตกต่างกันระหว่างในสหรัฐฯ และไทย โดยสมาคมเองได้รับเสียงสะท้อนของภาคสนาม มีการปิดบังสำนักข่าวโดยบิดเบือนแจ้งเป็นอีกสำนัก เพื่อหวังไม่ให้ถูกคุกคามจากกลุ่มผู้ชุมนุม ถือว่าต้องปกป้องช่วยกันประคับประคอง ซึ่งไม่ได้หมายความเฉพาะสื่อไทย เมื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการชุมนุม สมาคมยินดีเป็นผู้ประสานตัวกลางด้านความปลอดภัยในการทำหน้าที่ โดยมีการทำปลอกแขน รวมไปถึงเป็นหน้าที่องค์การสื่อเกิดการพูดคุยในเชิงเหตุและผล ไม่ใช่การยั่วยุทางอารมณ์ นำเสนอสิ่งที่กลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเรียกร้อง

ด้านการเท่าทันสื่อนั้น นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ระบุว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีก้าวไปไว มีทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อกระแสรอง แต่ตนเชื่อว่าทุกคนรู้เท่าทันสื่อ รู้ว่าการนำเสนอข่าวแบบนี้ต้องการอะไร ตนเชื่อว่าคนจำนวนมากรู้ว่าเลือกเสพสื่อด้วยเหตุผลอะไร ขณะที่สื่อบนแพลตฟอร์มหลักต้องระวังในการนำเสนอ ซึ่งตอบไม่ได้เลยว่าการรู้เท่าทันสื่อต้องทำอย่างไร การนำเสนอข่าวของแพลตฟอร์มหลักนั้นมีบรรณาธิการในการสกรีนข่าว ซึ่งการเคารพสิทธิ์ของการบรรณาธิการแต่ไม่ใช่การเซนเซอร์ตนเอง แน่นอนว่าคนเราพูดความจริงไม่ได้ทั้งหมด แต่สื่อต้องแยกเท็จออกจากจริงให้ได้มากที่สุด อย่าให้คนเสพสื่อต้องรู้เท่าทันเอง พร้อมกับยอมรับว่า ทุกวันนี้เสียสื่อที่มีคุณภาพมากเกินไป จนเกิดการตั้งคำถามว่า สื่อทำหน้าที่ได้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่

นายมงคล กล่าวเสริมว่า ต้องยอมรับว่าสื่อทั้งโลกต้องประสบกับการจัดระเบียบ การเข้ามาเพิ่มเติมของโซเชียล เริ่มสับสนว่าอะไรคือสื่อมวลชน หรือสื่อบุคคลทั่วไป สื่อมวลชนที่ยังคงอยู่ได้ต้องรับผิดชอบเชิงปรากฏตัวสามารถบังคับทางนิตินัย โดยทางสมาคมยังมีการรณรงค์การนำเสนอเฮดสปีช แต่ไม่ใช่ไม่ยอมรับความเห็นต่าง

ส่วนมุมมองด้านแรงกดดันจากนโยบายผู้บริหารกับการเซ็นเซอร์นั้น นายพีระวัฒน์ กล่าวว่า จงอย่ากลัวในสิ่งที่ไม่รู้ ขอให้ลองทำ แต่หากยังไม่รู้ว่าจะมีการห้ามให้ทำจนกว่าจะมีคำสั่งว่าอย่า หากถูกเซนเซอร์จนถูกปิดสถานีจะทำให้สิ่งที่ต้องการนำเสนอไม่ได้นำเสนอ และอาจทำเพื่อนร่วมงานแย่ไปด้วย แม้ไทยมีเสรีภาพแต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ หากทำในสิ่งที่ผู้มีอำนาจบังคับไม่ให้มีการนำเสนอ หากยังรั้นนำเสนอความจริง 100 เรื่อง จะถูกนำเสนอเพียง 1 เรื่อง แต่อีก 99 เรื่อง จะไม่ถูกนำเสนอต่อ จึงจำเป็นตัดบางเรื่องเพื่อให้อีก 99 เรื่อง ได้นำเสนอ

ด้านตัวแทนของผู้บริหารจากมติชน มองว่า การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้แต่ไม่กล้าพูด เพราะขณะนี้มี 2 ขบวนการที่กำลังแสดงความคิดในเรื่องดังกล่าว ฝ่ายแรกมองว่า ชังชาติ และเลือกที่จะรายงานเฉพาะฝ่ายนี้แล้วจะเรียกว่าเป็นกลางหรือไม่ ถึงเวลาทำไมไม่ตั้งคำถามว่านำเสนอเป็นกลางแล้วหรือยัง สื่อกลัวว่าหากนำเสนอ 2 ด้าน การเกิดผลกระทบ หากไม่กล้านำเสนอสิ่งใดเพราะกลัวปัญหาตามมา หากเกิดขึ้นกับรัฐบาล ทหาร หรือทุน ตนเชื่อว่าองค์กรสื่อจะช่วยกันคุ้มครอง เพื่อให้สื่อมีสิทธิ์ในการรายงาน เพื่อให้แสดงความเป็นกลาง ตนมองว่าไม่ใช่การทำงานทางบรรณาธิการ ทำไมไม่ต่อสู้กับการเซนเซอร์ตนเอง ซึ่งการเซนเซอร์ตัวเองนั้นอันตราย การที่ผู้สื่อข่าวกลัวม็อบ แล้วจะให้ม็อบมองว่าสื่อเป็นกลางได้อย่างไร เพราะเซนเซอร์เองก็ถือได้ไม่เป็นกลางไปแล้ว จากอีกฝ่ายหนึ่งมองว่าการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นไม่ผิดกฎหมาย แต่สื่อมองว่าการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นผิดกฎหมาย จึงเกิดเป็นการมองว่าสื่อนั้นนำเสนอข่าวอย่างไม่เป็นกลาง

ทั้งนี้ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มองว่า 10 ข้อเสนอของการปราศัยเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้บรรณาธิการตัดสินใจยาก เป็นประสบการณ์ใหม่ แน่นอนว่าต้องเบรกเพื่อตั้งหลัก ว่าทำไมความกล้าของคนรุ่นใหม่ สังคมไทยไม่เคยมีการพูดเรื่องดังกล่าวบนเวทีสาธารณะ ซึ่งต้องทบทวนว่าจะรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นบนปรากฏการณ์ครั้งนี้อย่างไร เพราะ 10 ข้อ ทำให้เกิดกลุ่มพันธมิตรลดลงจนต้องเหลือข้อเรียกร้องเพียง 3 ข้อ ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเติบโตมากับสถาบันพระมหากษัตริย์มายาวนานจนเป็นจารีต จนสมาคมนักข่าวต้องทบทวนการทำหน้าที่ว่า 10 ข้อเสนอนี้ส่อหรือล่อแหลมนำมาสู่ความขัดแย้ง หรือต้องนำเสนอผ่านศิลปะอย่างไร ท้ายที่สุดต้องทำอย่างไรให้มีการนำเสนอเชิงวิชาการ ผู้ชุมนุมเองต้องปรับการพูดคุยเชิงวิชาการ ดึงอารมณ์ออกจากการเรียกร้อง เพื่อให้สื่อนำเสนอเชิงวิชาการได้

นายฉาย บุนนาค ระบุว่า การเชิญตนมาในวันนี้ไม่ได้เชิญมาเพื่อพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เชิญมาเพื่อพูดถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อ และสื่อเปรียบเสมือนนกพิราบที่มีความเป็นอิสระ นกพิราบมีหลายสีหลายเชื้อชาติ แต่นกพิราบที่ดีไม่ขี้เรี่ยราด และต้องรับผิดชอบต่อสังคม ยืนยันว่า นโยบายไม่กลัวการนำเสนอข่าว และรับผิดชอบทางสังคม หากยืนอยู่บนอุดมการณ์ที่ถูกต้อง สิ่งที่รับผิดชอบต่อสังคม นี่คือการทำหน้าที่ที่ครบถ้วน บุคลิกแต่ละแบรนด์กลุ่มเป้าหมายคืออะไร ความรับผิดชอบคืออะไร

ส่วนกรณีการสร้างความแตกต่างที่แท้จริงในการไม่ใส่ความคิดเห็นลงในข่าว นายฉาย กล่าวว่า ต้องมีการสกรีนเรื่องข้อกฎหมาย และข่าวต้องนำเสนอให้ครบถ้วน สื่อเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อสังคมและประชาชน ส่วนตัวมองว่าควรมีการขึ้นทะเบียน มีองค์กรอิสระดูแล ทุกวันนี้มีสื่อออนไลน์มีการอ้างตัวเองว่าเป็นสื่อ นำเสนอผิดพลาดไปไม่มีความรับผิดชอบใดใดทั้งสิ้น และในส่วนของสำนักข่าวเนชั่นมีการนำเสนอข่าวที่ครบถ้วน และแยกแยะชัดเจนว่าสิ่งใดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ฉาย บุนนาค © สนับสนุนโดย คมชัดลึก ฉาย บุนนาค © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก © สนับสนุนโดย คมชัดลึก

Let's block ads! (Why?)



"นก" - Google News
September 03, 2020 at 06:30AM
https://ift.tt/3hSHiHu

ฉาย บุนนาค เปรียบสื่อเป็นนกพิราบที่ดีไม่ขี้เรี่ยราด ยืนยัน นโยบายไม่กลัวการนำเสนอข่าว - เอ็มเอสเอ็น
"นก" - Google News
https://ift.tt/3eM4d50
Home To Blog

No comments:

Post a Comment