จากที่ก่อนหน้านี้มีหลายคนออกมาตั้งข้อสังเกตว่าเสียงนกร้องแตกต่างออก ไปตั้งแต่เริ่มมีการล็อกดาวน์เพราะวิกฤตโควิด-19 ตอนนี้มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันแล้ว
จากการวิเคราะห์เสียงร้องของนกกระจอกที่เก็บข้อมูลมาหลายทศวรรษ นักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่าชุดเสียงที่นกร้องออกมาแตกต่างไปเมื่อตัวเมืองเงียบสงัดลงช่วงการล็อกดาวน์รับมือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
นกเหล่านี้เพิ่มคุณภาพเสียงร้องมากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องอาณาเขตของพวกมัน และก็เพื่อดึงดูดคู่มาผสมพันธุ์ด้วย
แม้ว่ามนุษย์คิดว่าเสียงเหล่านี้ดังขึ้น แต่จริง ๆ แล้วมันส่งเสียงร้องเบาลงต่างหาก
ดร.เอลิซาเบธ เดอร์รีเบอร์รี จากคณะนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการเชิงชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีในเมืองน็อกซ์วิลล์ของสหรัฐฯ ศึกษาว่ามลภาวะทางเสียงส่งผลต่อเสียงนกร้องอย่างไรมาหลายปี
"คนเข้าใจถูกแล้วว่าเสียงนกร้องแตกต่างไประหว่างการล็อกดาวน์ เสียงเหล่านี้ไปอยู่ในที่ ๆ มนุษย์ทิ้งให้ว่างเปล่า" ดร.เดอร์รีเบอร์รี บอกกับบีบีซี
"ขณะที่เราย้ายออกจากทัศนียภาพของเสียง เหล่านกก็ย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้แทน ฉันคิดว่าสิ่งนี้กำลังบอกว่ามนุษย์เราส่งผลกระทบต่อการเสียงร้องและการสื่อสารของนกอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเมือง"
งานวิจัยว่าอย่างไร
ต้องยกความดีความชอบให้กับการศึกษาเก็บข้อมูลเรื่องนกกระจอกหัวมงกุฏขาวสลับดำ บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการเปรียบเทียบได้ว่าเสียงนกร้องก่อนและหลังการล็อกดาวน์ต่างกันอย่างไร
สิ่งที่พวกเขาพบคือ ส่วนใหญ่แล้ว เป็นนกกระจอกตัวผู้ที่ส่งเสียงร้อง และช่วงที่ตัวเมืองเงียบสงัดลง นกปรับคุณภาพเสียงพวกมันให้ดีขึ้น ร้องเสียงเบาและ "เซ็กซี่" กว่าเดิมเพื่อปกป้องอาณาเขตของพวกมันและก็ดึงดูดนกตัวเมียมาผสมพันธุ์ด้วย
"เมื่อเสียง [จากมนุษย์] เบาลงช่วงล็อกดาวน์ เสียงร้องพวกมันฟังเซ็กซี่ขึ้นสำหรับนกตัวอื่น ๆ"
"งานวิจัยชี้ว่า เมื่อมลภาวะทางเสียงลดลง จะเกิดผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์ป่าโดยทันที และนี่น่าตื่นเต้นมากเพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เราพยายามทำเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเห็นผล"
ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบงัน
มองในมุมหนึ่ง การล็อกดาวน์ก็คือการทดลองครั้งใหญ่เพื่อดูว่าสัตว์ป่าจะมีปฏิกริยาอย่างไรเมื่อไม่มีเสียงที่สร้างโดยมนุษย์
เสียงการจราจรบนสะพานโกลเดนเกตในนครซานฟรานซิสโก ลดระดับลงไปคล้ายกับช่วงทศวรรษที่ '50 และก็มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียบอกว่าเห็นหมาป่าออกมาเดินข้ามสะพาน
คนเองก็ออกมาบอกว่ารู้สึกเชื่อมต่อกับธรรมชาติมากขึ้นเช่นไรในช่วงล็อกดาวน์ และงานวิจัยนี้ก็เป็นหลักฐานบางประการที่บอกว่า ทั้งสัตว์ป่าและมนุษย์เองต่างก็ได้ผลดีจาก "ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบงัน"
"การได้ยินเสียงนกร้องมากขึ้นส่งผลดีต่อสภาพจิตใจคน และการล็อกดาวน์ยิ่งทำให้เห็นเรื่องนี้ชัดเจน และงานวิจัยนี้ก็ให้ข้อมูลสนับสนุนเรื่องนั้น" ดร.เดอร์รีเบอร์รี กล่าว
เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเสียงร้องนกกระจอก
นกกระจอกหัวมงกุฏขาวสลับดำ (white-crowned sparrow) มีอยู่ทั่วไปในสหรัฐฯ และแคนาดา และเสียงร้องของพวกมันก็ถูกนำไปศึกษาอย่างกว้างขวาง
สายพันธุ์ที่แตกต่างแยกย่อยออกไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศก็จะมีเสียงร้องแตกต่างออกไปเล็กน้อย เสียงของพวกมันจะเริ่มด้วยเสียงคล้ายกระซิบฟังดูอ่อนหวาน ก่อนจะเป็นเสียงกระซิบซ้ำ ๆ แล้วจบด้วยเสียงรัวตอนท้าย ๆ
มีการเก็บข้อมูลเสียงนกกระจอกในย่านอ่าวซานฟรานซิสโกในรัฐแคลิฟอร์เนียมาตั้งแต่ทศวรรษที่ '70 แล้ว นี่จึงเป็นข้อมูลหายากเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสียงร้องของนก
เป็นที่รู้กันดีว่านกที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองต้องปรับเสียงร้องของพวกมันในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เหมือนกับที่คนเราต้องปรับเวลาอยู่ในปาร์ตี้ที่มีเสียงเพลงและเสียงคนพูดคุยเสียงดัง
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียโพลีเทคนิคสเตท และมหาวิทยาลัยจอร์จเมสัน
"นก" - Google News
September 28, 2020 at 08:58AM
https://ift.tt/3cDzs2z
โควิด-19 : นักวิจัยชี้เสียงนกร้องช่วงล็อกดาวน์ มีคุณภาพและ "เซ็กซี่" ขึ้น - บีบีซีไทย
"นก" - Google News
https://ift.tt/3eM4d50
Home To Blog
No comments:
Post a Comment